การเลือกใช้น้ำมันเครื่องให้เหมาะสม

ปกติแล้วเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์แค่ละคันจะมีการออกแบบให้ทำงานในระดับความหนืดที่เหมาะสม จึงควรกำหนดระดับความหนืดที่ถูกต้องด้วย เพราะหากไม่เหมาะสมก็จะทำให้เกิดปัญหาด้านเครื่องยนต์ตามมาในอนาคต การทำงานของเครื่องยนต์มีประสิทธิภาพลดลง โดยทั่วไปมีน้ำมันเครื่องจะมีทั้งหมด 3 ประเภท คือน้ำมันเครื่องธรรมดา หรือ Synthetic ควรเปลี่ยนทุก ๆ 3,000 – 5,000 กม., น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ หรือ Semi Synthetic ควรเปลี่ยนทุก ๆ 5,000 – 7,000 กม. และน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ หรือ Fully Synthetic ควรเปลี่ยนทุก ๆ 7,000 – 10,000 กม.

ความหนืดหมายถึงอะไร ?

ความหนืดจะเป็นเกณฑ์ของน้ำมันหล่อลื่นที่วัดความเข้มข้นของของเหลว หรือแรงไหลเท ซึ่งสอดคล้องกับสภาพอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสม หากข้นหนืดเกินขณะเครื่องเย็นก็จะไหลเวียนได้ไม่มีประสิทธิภาพ แต่หากเหลวไปเมื่อเครื่องร้อนก็ไม่สามารถปกป้องชิ้นส่วนเครื่องยนต์ให้เหมาะสมได้ ความหนืดที่เหมาะสมจะทำให้การทำงานปกป้องส่วนที่สึกหรอชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์มีประสิทธิภาพ ช่วยชะล้างสิ่งสกปรกที่ตกค้างภายในเครื่องยนต์ได้ดี พร้อมระบายความร้อน ควบคุมอุณหภูมิเครื่องยนต์ให้ทำงานในเกณฑ์ปกติดีเยี่ยมด้วย

ตัวเลขความหนืดหมายถึงอะไรและอ่านยังไง ?

ตัวเลขความหนืดคือค่าของเหลวที่มีขนาดความหนืดมากหรือน้อย สามารถอ่านตัวเลขได้โดย W คือการวัดค่าความสามารถในการต้านทานไขที่เกิดขึ้นของน้ำมันเครื่อง วัดได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ต่ำสุดถึงจุดเยือกแข็งตั้งแต่ 0 ถึง – 30 องศาเซลเซียส ส่วนตัวเลขที่อยู่ทางด้านขวาคือค่าความหนืดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส แทนค่าเป็นตัวเลข เป็นเบอร์ของน้ำมันเครื่อง ยิ่งค่ามากก็ยิ่งมีความหยืดของน้ำมันมาก เช่น 30, 40, 50 หากมีมากก็เท่ากับมีความหนืดของน้ำมันมากตามไปด้วย